ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน



เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
                ทุกคนบนโลกใบนี้ ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อจะมีชีวิตอยู่รอดท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันนี้เกิดการเสื่อมโทรดทางเศรษฐกิจและสังคมในด้านการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน การเพิ่มของหนี้ภาคครัวเรือน การดำเนินชีวิตค่าครองชีพก็สูงขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคกินความจำเป็น ไม่รู้จักอดทน อนกลั้น อดออม และที่สำคัญไม่รู้จักที่จะดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
                ภายใต้การครอบงำของเศรษฐกิจกระแสหลักที่ก่อให้เกิดปัญหานี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดย เน้นเป้าหมาย คือ การพัฒนาอย่างยังยืน เน้นการบิหารการจัดการ คือ ความพอเพียง เน้นการเติบโต คือ ความสมดุล และ เน้นอนาคต คือ การก้าวหน้าไปสู่สังคมโลกที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน (นิสิต จันทร์สมวงศ์. 2553: 4-9) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นปรัชญาการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพสังคม
                นายฉลองชาติ ยังปักยี เกษตรกร อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ได้ฟังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการอาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้น้อมนำมาปรับวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัวตั้งแต่ พ.ศ. 2537 โดยยึดถือพระราชดำรัส ทำการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง หยุดการใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย ใช้เวลา2 ปีจึงปรากฎผล และทำต่อมาเป็นเวลา10ปีแล้ว ปัจบันนี้ทำรายได้ให้ครอบครัวเกือบวันละ 450, 000 บาท (ศรีนิตย์ บุญทอง.2553:71-78)
หมู่บ้านคำปลาหลาย อำเภออุบลรันต์ จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้าน ชักชวนชาวบ้านให้หันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อลดรายจ่าย ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน ลดสิ่งของฟุ่มเฟือย ออมเงิน ปลูกผักผลไม้ไว้กิน เหลือเอาไปขายจัดตั้งศูนย์สาธิตตลาดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้กับสมาชิกในราคาประหยัดและเป็นธรรม พร้อมทั้งเฉลี่ยกำไรคืนแก่สมาชิก โดยอาศัยหลักคุณธรรม 5 ประการ สู่ความสำเร็จ คือ ความซื่อสัตย์ ความเสือสละ ความรับผิดชชอบ ความเห็นใจกัน และความไว้วางใจกัน จากหมู่บ้านที่ยากจนที่สุดในอำเภอสู่หมู่บ้านที่พัฒนาที่สุด (อำนวย คำตื้อ. 2553 : 12-20)
โรงเรียนบ้านคลองโยง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 เป็นสถานศึกษาหนึ่งที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งไปสู่การเสริมสร้างระบบการบริหารที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการบริหารการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ คือ หนึ่ง วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดจุดเน้น พัฒนาโรงเรียนให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอประมาณ มีเหตุผล สอง สนทนาแลกเปลี่ยนความคิด ปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินงานตามภาระกิจ หน้าที่ที่ตนได้รับผิดชอบสู่เงื่อนไขความสำเร็จ สาม วางแผนขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ปกครองนักเรียน เสนอให้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบระหว่างการดำเนินงาน (ยุทธนา ปฐมวรชาติ. 2553: 5-11)
“เศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วย ทำอะไรด้วยเหตุผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทุกคนจะมีความสุข แต่พอเพียง” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่มาเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2543
จะเห็นได้ว่าการนำเนินชิวิตเกิดขึ้นกับทุกการประกอบอาชีพ และทุกส่วนของสังคมในขณะนี้ และเศรษฐกิจพอเพียงนี้ทำให้ผู้ที่นำไปปฏิบัติมีอาชีพ คุณภาพชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืนได้


บรรณานุกรม
นิสิต จันทร์สมวงศ์.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: ทางเลือกของการพัฒนาชนบทไทยในทศวรรษหน้า”
 พัฒนาชุมชน. หน้า 4-9 .กรุงเทพฯ : บริษัท 24 อินเตอร์พริ้น จำกัด 2553
ยุทธนา ปฐมชาติ.”การน้อมนำปรัขญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่กราศึกษา: แนวคิดเชิงประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาคู่ความพอเพียงสู่ความยั่งยืน” วารสารวิชาการ. หน้า 5-11. กรุงเทพฯ.
 สกสค. 2552
ศรีนิตย์ บุญทอง.”ความสำเร็จจากการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” วารสารไทย. หน้า71-78. กรุงเทพฯ.
บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด 2553
อำนวย คำตื้อ.”การประยุกต์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กับการใช้ชีวิตราชการ” ศูนย์บริการวิชาการ
 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 12-20. จ.ขอนแก่น. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น